เปลี่ยนเสียงสะท้อน(ร้องเรียน)เป็นเสียงดนตรีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้สร้างการมีส่วนร่วมในการคุ้มครองสิทธิเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการบริการสุขภาพเขต 11
เปลี่ยนเสียงสะท้อน( ร้องเรียน) เป็นเสียงดนตรี
วันที่ 19 มิถุนายน 2567 ณ ห้องประชุมชั้น 5 ตึกอุบัติเหตุ โรงพยาบาลชุมพร จ.ชุมพร
สปสช.เขต 11 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างการมีส่วนร่วมในการคุ้มครองสิทธิ เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการบริการสุขภาพ โดยมีอนุกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานการบริการสุขภาพ (อคม)นพ.บรรจบ ประธานกรรมการ (ผอ.รพ.ทักษิณ. สุราษฎร์ฯ) นพ.สุเมธ ประธานคุ้มครองสิทธิฯ และเจ้าหน้าที่ สปสช.เขต 11
เวทีนี้มีผู้เข้าร่วมหลักคือ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลชุมพรฯ,ผู้แทนงานหลักประกันสุขภาพ สสจ.ชุมพร.,ศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในโรงพยาบาล,ศูนย์คุ้มครองสิทธิบัตรทองจังหวัด/อำเภอ หรือศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพและคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดชุมพร ซึ่่งได้สะท้อนอุบัติการณ์ ประสบการณ์ บทเรียนการดำเนินงาน จัดการเรื่องร้องเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานบริการสุขภาพ
สถานการณ์และปัญหาอุปสรรคที่สำคัญของ จังหวัดชุมพร
1.การจัดการเรื่องร้องเรียนร่วมกันระหว่างหน่วยบริการกับศูนย์คุ้มครองสิทธิฯ มักถูกจัดการเมื่อเป็นข่าว.
2.ความเชื่อมโยง/ร่วมมือกันระหว่างกลไกทั้ง 2 หน่วยข้างต้น
3.การสื่อสารทั้งช่องทาง/ความถี่ระหว่างกัน ทั้งจากส่วนกลาง ระดับเขต จังหวัดและเครือข่ายหน่วยบริการ
4.อัตราการเพิ่มขึ้นของเรื่องร้องเรียน ในหกเดือนแรก 54 เคส ต้องจ่ายเงินชดเชยเยียวยา ม.41 จำนวน 11.59 ล้านบาท ปริมาณเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ถึง 1.5. เท่า
5.ประเภทของเรื่องร้องเรียน สถิติ/ลำดับต้น มาจาก
1)การเรียกเก็บเงินจากหน่วยบริการ
2)ความผิดพลาดจากการวินิจฉัยโรค/การรักษา
3)การไม่ได้รับความสะดวก/มาตรฐานบริการสุขภาพ
4)การไม่ได้รับบริการตามสิทธิประโยชนที่ประกาศไว้
มีข้อสรุปดังนี้
1)การปรับกระบวนทัศน์ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบบริการสุขภาพ โดยเฉพาะ จนท.งานหลักประกันสุขภาพในโรงพยาบาลและกลไกศูนย์คุ้มครองสิทธิฯ เปลี่ยนเสียงสะท้อน(เรื่องร้องเรียน) เป็นเสียงดนตรี ในการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการบริการสุขภาพ
2)มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง ศูนย์คุ้มครองสิทธิฯ กับ ศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในโรงพยาบาล และภาคีเครือข่ายทางสุขภาพ. ในระดับจังหวัด ปีละ 2 ครั้ง เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูล สถานการณ์/อุบัติการณ์ ประสบการณ์ ระหว่างกัน ในรูปแบบการจัดการความรู้และความร่วมมือจัดการปัญหาร่วมกัน และเป็นการเสริมศักยภาพบุคลากรรุ่นใหม่
3)การใช้ข้อมูลสารสนเทศ และความรู้ ข้อเท็จจริงในการจัดการข้อร้องเรียน/พัฒนาคุณภาพมาตรฐานบริการ
4)การพัฒนาระบบสนับสนุนโดย สปสช.เขต 11 ต้องเริ่มก่อการ สานพลังเครือข่ายในระยะต้น. ก่อนที่จะให้ทีมจังหวัดเป็นเจ้าภาพจัดการให้มีเวทีพบปะในระยะต่อไป พร้อมการสนับสนุนทรัพยากรและการพัฒนาทักษะ จัดข้อร้องเรียน/ไกล่เกลี่ย/พัฒนาคุณภาพฯ แบบต่อเนื่อง เป็นระบบ
5)เพิ่มประสิทธิภาพสื่อสาร ผสมผสานเทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งข้อมูลข่าวสารสารสนเทศ ช่องทางที่หลากหลายและความถี่ในการสื่อสาร สำคัญคือการประเมินผลลัพธ์การสื่อสารเพื่อพัฒนา เป็นระบบ
มีข้อสรุปจากเวทีเพื่อรอการออกแบบการปฏิบัติการ การติดตามประเมินผลลัพธ์
อย่าประชุมเพื่อให้ได้ประชุม หรือตั้งคณะทำงาน อย่างเดียว
#ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพและคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดชุมพร
#ศูนย์คุ้มครองสิทธิบัตรทองจังหวัดชุมพร
ขอบคุณข้อมูลจากเพจ สมาคมประชาสังคมชุมพร
Relate topics
- พมจ.กระบี่ ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน ร่วมออกแบบแผนปฏิบัติการปี 68 มุ่งสู่กระบี่อยู่เย็นเป็นสุข
- สสว.11 ชวนใช้ข้อมูลครัวเรือน(กลุ่มเสี่ยง)จากสมุดพกครอบครัวอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขับเคลื่อนเชิงนโยบายอย่างพุ่งเป้า
- เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) ชู “ข้อเสนอ 3 ข้อ” ปกป้องเด็กเยาวชนจาก “ภัยบุหรี่ไฟฟ้า” ในเวทีระดมความเห็นภาคีปฏิบัติการพื้นที่ “ภาคใต้”
- 17 ประเด็นที่เห็นจาก NHA17
- "ประชุม กขป.เขต 12 ทีมเล็ก"
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบและกลไกการจัดการพื้นที่ตำบลขอนหาด (ภาคีเครือข่าย สสส.)
- "พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงและกองเลขาแผนงานร่วมทุนฯสงขลา"
- ประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ.2567 “การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P): กุญแจสู่ความสำเร็จของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”
- สสจ.สงขลาและเครือข่ายร่วมวางแผนคัดกรองกลุ่มเสี่ยงยาเสพติดและสุขภาพจิต อายุ 12-59 ปี
- "พัฒนามาตรฐานกลางการปรับสภาพบ้านคนพิการสิทธิบัตรทองจังหวัดสงขลา"