ยะลาเมืองแห่งความสุขด้วยการมีอาหารที่ปลอดภัย
ยะลาเมืองแห่งความสุขด้วยการมีอาหารที่ปลอดภัย
นายอำพล พงศ์สุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา เป็นประธานในเวทีประชุมสมัชชาสุขภาพจังหวัดยะลาประจำปี 2567 วันที่ 22 สิงหาคม 2567 ณ มูลนิธิอิสลามเพื่อการพัฒนายะลา
โดยมีการนำเสนอผลการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร : ผักปลอดภัยเชื่อมโยงการขับเคลื่อนข้อมูลการออกกำลังกายและการเล่นกีฬา (CCC) และการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน มีผู้แทนหน่วยงานและเครือข่ายเข้าร่วม 100 คน
ความมั่นคงทางอาหาร ประเด็นผักปลอดภัย ถือว่าสอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาในจังหวัด ทั้งการนำเข้าผักที่ต้องซื้อจากภายนอกจังหวัด การปนเปื้อนจากสารเคมี เป้าหมาย จึงมุ่งไปที่ “คนยะลามีสุขภาพดี ลดโรคที่เกิดจากกินอาหารที่ปนเปื้อน สร้างเมืองแห่งเกษตรอินทรีย์ โดยเริ่มที่ทำเกษตรปลอดภัย” ถือเป็นการวิเคราะห์ปัจจัยทางสังคม ที่ส่งผลต่อสุขภาพ ได้ตรงประเด็น
มีผลลัพธ์สำคัญ เช่น ประชาชนและเครือข่ายชุมชนที่เข้าร่วมในพื้นที่นำร่องฯ เกิดความตระหนัก ลดการนำเข้าผักจากนอกพื้นที่ ลงได้ร้อยละ 20 มีครัวเรือนที่ได้รับประโยชน์ 730 ครัวเรือน และประชาชนที่ได้รับผลประโยชน์จำนวน 2,652 คน พื้นที่ปลูกผักปลอดภัย 133 ไร่ ได้รับการรับรอง GAP 54 ราย ผัก 47 ชนิด มีช่องทางการตลาดขายผัก 40 จุด
เกิดโมเดลกลุ่มวิสาหกิจนูริชฟาร์ม ตำบลลำใหม่ ซึ่งเป็นกลุ่มที่จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจ มีแผนการตลาดแผนธุรกิจอย่างชัดเจน และมีพื้นที่ต้นแบบ จำนวน 4 พื้นที่ ได้แก่ กลุ่มบ้านตะโล๊ะ ต.ยะต๊ะ กลุ่มบ้านบันนังสตา กลุ่มบ้านยือโร๊ะ ต.บาโง และกลุ่มบ้านหน้าถ้ำ ต.หน้าถ้ำ
รวมถึงมีการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อกำหนดแนวทางทาง มาตรการ และมาตรฐานการขับเคลื่อนอาหารปลอดภัย
แผนการขับเคลื่อนต่อได้แก่ การขยายพื้นที่ปลูกผักปลอดภัยครอบคลุมทุกตำบล ร่วมกับ Node สสส. รณรงค์การใช้อาหารในท้องถิ่นในงานวิ่งหรือมหกรรมสุขภาพในจังหวัด พัฒนาเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวด้านสุขภาพให้ครอบคลุมทั้งเชิงท่องเที่ยวเกษตร และเชิงวิถีวัฒนธรรม
โดยผู้ว่าราชการจังหวัด ได้ย้ำให้เห็น “หัวใจสำคัญของการพัฒนาด้านต่างๆ คือการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเข้ามแลเปลี่ยนความรู้ ดังเช่น การจัดสมัชชาสุขภาพในวันนี้ ที่ได้มีการนำเสนอผลและหาแนวทางการร่วมขับเคลื่อนต่อ ซึ่งทั้ง 3 เรื่อง ตรงกับทิศทางการพัฒนาจังหวัด ขอให้คณะทำงานสรุปผลและจัดทำข้อเสนอที่เกี่ยวข้องให้ผู้ว่าฯ ได้ช่วยกับชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจะลงไปติดตามผลการปลูกผักและจัดการท่องเที่ยวที่ตำบลบูดีในเดือนถัดไป”
ทั้งนี้ในช่วงบ่ายได้มีการจัดกระบวนการกลุ่มย่อย เพื่อวิเคราะห์ประเด็นและสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพคนยะลา โดยในปี 2568 จะร่วมกันเคลื่อนเพิ่มอีก 2 ประเด็นได้แก่
1)การสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อลดการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และ
2)การสนับสนุนดูแลผู้ป่วยทางจิตและพฤติกรรมในชุมชน
ข่าว : บัณฑิต มั่นคง
Relate topics
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- โครงการนวัตกรรมการส่งเสริมการทำสวนยางพาราแบบวนเกษตรในพื้นที่ภาคใต้ พื้นที่สตูล
- ฟันดีเริ่มที่บ้าน บรูณาการสุขเป็น
- กสศ. ร่วมกับเครือข่ายจัดการศึกษาเชิงพื้น และตัวแบบเมืองแห่งการเรียนรู้ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เมืองแห่งการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
- ประชุมคณะทำงานโครงการขับเคลื่อนแผนรองรับสังคมสูงวัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระดับจังหวัด ครั้งที่ 1/2567
- โครงการพัฒนาศักยภาพครู ผู้ดูแลเด็ก และเครือข่าย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการและโภชนาการเด็ก 0-5 ปี (สงขลา)
- 21 ศูนย์สร้างสุขชุมชน (สงขลา) ร่วมเป็นพื้นที่นำร่องร่วมพัฒนาและทดลองใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปแบบถอดซักได้
- คอร์ส "ปลุกปั้น นักสร้างสรรค์ รุ่นใหม่ สู่โลกแห่งสื่อ ที่ไร้ขีดจำกัด" ภาคใต้ตอนล่าง
- POLICY FORUM เพื่อสื่อสารข้อเสนอเชิงนโยบายด้านระบบอาหาร (ความมั่นคงทางอาหาร ความปลอดภัยและโภชนาการ) ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้
- เวทีบูรณาการความร่วมมือและขับเคลื่อนระบบอาหาร เพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในพื้นที่ปฏิบัติการระดับจังหวัดสงขลาและพัทลุง