นราธิวาสสร้างสุข มะนารอ บาฮากียอ ( منارا بهڬيا )
นราธิวาสสร้างสุข มะนารอ บาฮากียอ ( منارا بهڬيا )
ผ่านการปรึกษาหารือและจัดกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะมาระยะหนึ่ง เครือข่ายด้านสุขภาพและสังคม ในจังหวัดนราธิวาส ต่างพร้อมใจกันมาร่วมชูธงเสนอและเคลื่อนเรื่องร่วม (ประเด็นนโยบาย) เพื่อไปสู่จังหวัดนราธิวาสมะนารอ บาฮากียอ (Narathiwat City of Happiness)
นราธิวาส มีประสบการณ์สำคัญในการร่วมขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ ได้แก่
1.การพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีชุมชนสู่ธรรมนูญตำบลสุขภาวะเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต มีพื้นที่อำเภอรือเสาะ เป็นพื้นที่ต้นแบบ
2.สานเสวนาสันติวิธีและคุณภาพชีวิตในสังคมพหุวัฒนธรรม สร้างสังคมพหุวัฒนธรรม มีพื้นที่อำเภอบาเจาะ เป็นต้นแบบ
3.การพัฒนาสุขภาวะพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ มีอำเภอแว้ง อำเภอสุไหงโกลก เป็นต้นแบบการทำงานร่วมกัน
แนวทางการขับเคลื่อนเพื่อไปสู่นราธิวาสแห่งความสุข เช่น มิติความมั่นคงทางอาหาร ได้ร่วมดำเนินการที่เป็นรูปธรรม ดังนี้
มีพื้นที่ต้นแบบด้านการผลิต : ซารายอ อ.สุไหงโกลก (สสส.) ปลูกผักปลอดสารพิษ โรงเรียนชาวนา อำเภอแว้ง (พอช.) กลุ่มเลี้ยงผึ้งชันโรง อ.ยี่งอ และเครือข่าย จ.นราธิวาส (ธ.ออมสิน) กลุ่มแปรรูปทุเรียน อ.เจาะไอร้อง ผักปลอดสารพิษ สาวอดีสุข อำเภอรือเสาะ กลุ่มเลี้ยงวัว อ.ศรีสาคร กลุ่มเลี้ยงปลาทับทิม บ้านซือเลาะ อำเภอรือเสาะ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนลังกาสุกะ อ.จะแนะ พื้นที่ปลูกข้าวพื้นเมือง ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ พื้นที่ปลูกข้าวบ้านโคก ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง กลุ่มเลี้ยงหนอนสาคู บ้านตอหลัง อ.ระแงะ
ได้เสนอแนะในการขับเคลื่อน 7 ส. ได้แก่
1.เสนอตัวแบบเชิงนโยบาย/ชี้เป้าพื้นที่ต้นแบบที่พร้อมขยายสู่ระดับต่างๆ
2.สร้างความตระหนักรู้ บนฐานข้อมูล วิชาการ ร่วมกันถึงการมีส่วนร่วมและลุกขึ้นมาจัดการปัจจัยเสี่ยงทุกด้าน ในระดับครอบครัว ชุมชน ท้องถิ่น
3.สนับสนุนการทำสภาซูอ มีฮุกุมปากัต กติกาชุมชน ข้อตกลงร่วม
4.สื่อสารในรูปแบบใหม่ๆ สร้างกระแส และเท่าทันการเข้าถึงของทุกกลุ่ม
5.เสริมพลังภาคีเครือข่าย มีหลักสูตรนราก้าวไกล (ความรู้ การขับเคลื่อน การประสาน)
6.ส่งต่อเป็นข้อเสนอนโยบาย ในงานสมัชชาสร้างสุขภาคใต้ปี 2568 - 2570
7.สานพลังตระกูล ส. พ. และภาคียุทธศาสตร์หลักที่เกี่ยวข้อง ขับเคลื่อนจริงจัง
โดยภาคีเครือข่ายจะร่วมกันผลักดันการขับเคลื่อนนโยบายที่ได้ประกาศร่วมกันในวันนี้เพื่อเสนอไปยัง
1.การบรรจุเป็นนโยบายจังหวัด/ยุทธศาสตร์จังหวัด เช่น บรรจุในแผนพัฒนาจังหวัด, แผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ,แผนบูรณาการของ คกก.จังหวัดบูรณาการ (กบจ.) แผนของหน่วยงานต่างๆ ในจังหวัด
2.ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและกลไกที่เกี่ยวข้อง เช่น บรรจุในแผน อบต./เทศบาล แผนคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พอช.), แผนพัฒนาคุณภาพชีวิต (สภาองค์กรชุมชน)
3.และร่วมกับเครือข่ายดำเนินการเอง ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อสร้างพื้นที่ปฏิบัติการร่วม (Sand box), ธรรมนูญสุขภาพระดับตำบล/ชุมชน
ภาพและข่าว บัณฑิต มั่นคง สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
Relate topics
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- โครงการนวัตกรรมการส่งเสริมการทำสวนยางพาราแบบวนเกษตรในพื้นที่ภาคใต้ พื้นที่สตูล
- ฟันดีเริ่มที่บ้าน บรูณาการสุขเป็น
- กสศ. ร่วมกับเครือข่ายจัดการศึกษาเชิงพื้น และตัวแบบเมืองแห่งการเรียนรู้ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เมืองแห่งการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
- ประชุมคณะทำงานโครงการขับเคลื่อนแผนรองรับสังคมสูงวัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระดับจังหวัด ครั้งที่ 1/2567
- โครงการพัฒนาศักยภาพครู ผู้ดูแลเด็ก และเครือข่าย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการและโภชนาการเด็ก 0-5 ปี (สงขลา)
- 21 ศูนย์สร้างสุขชุมชน (สงขลา) ร่วมเป็นพื้นที่นำร่องร่วมพัฒนาและทดลองใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปแบบถอดซักได้
- คอร์ส "ปลุกปั้น นักสร้างสรรค์ รุ่นใหม่ สู่โลกแห่งสื่อ ที่ไร้ขีดจำกัด" ภาคใต้ตอนล่าง
- POLICY FORUM เพื่อสื่อสารข้อเสนอเชิงนโยบายด้านระบบอาหาร (ความมั่นคงทางอาหาร ความปลอดภัยและโภชนาการ) ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้
- เวทีบูรณาการความร่วมมือและขับเคลื่อนระบบอาหาร เพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในพื้นที่ปฏิบัติการระดับจังหวัดสงขลาและพัทลุง