"สงขลาพัฒนาระบบรับส่งผู้ป่วยไปพบแพทย์"
"สงขลาพัฒนาระบบรับส่งผู้ป่วยไปพบแพทย์"
แผนงานปีนี้ จังหวัดสงขลาเดินหน้าพัฒนาระบบบริการสาธารณะ ออกแบบระบบบริการการขนส่งอัจฉริยะ เพื่อบริการภาครัฐให้ประชาชนที่เข้าไม่ถึงบริการ เคาะนำร่องเขตเมืองเน้นกลุ่มผู้ป่วย IMC(Intermediate care; IMC) หมายถึง การบริบาลฟื้นสภาพผู้ป่วยระยะกลางที่มีอาการทางคลินิกผ่านพ้นภาวะวิกฤติและมีอาการคงที่ มีความจำเป็นต้องพบแพทย์ในช่วง 6 เดือน และผู้ป่วยทั่วไปในพื้นที่ห่า่งไกล
โดยนำประกาศกองทุนสุขภาพตำบลมาเสริมสิทธิ์บริการมุ่งเน้นการรับส่งผู้ป่วย IMC ไปพบแพทย์ในกลุ่มยากไร้ ไม่มีญาติ ไม่มีผู้ดูแล ไม่มียานพาหนะรับส่ง ตามอาการเขียว/เหลือง/แดงของผู้ป่วย IMC หลังพ้นระยะวิกฤต เพื่อไม่ให้เป็นผู้ป่วยติดเตียง ตามสิทธิ์ที่ได้รับ ลดค่าใช้จ่ายและความเหลื่อมล้ำทางสังคม
เริ่มต้นด้วยวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานจาก รพ.ศูนย์และสปสช. คัดกรองกลุ่มเป้าหมาย เขียว เหลือง แดง ตามสิทธิ์พื้นฐานทั้งบัตรข้าราชการ ประกันสังคมและบัตรทอง เพื่อให้ได้ผู้ป่วย(แดง)ที่จะให้ความช่วยเหลือ ข้อมูลจากสปสช.และรพ.ทั้งจังหวัดมีราว 600 คนในรอบ 6 เดือน ผู้ป้วยเหล่านี้ไปใช้บริการ ณ รพ.ศูนย์หรือคลินิกหรือรพ.ชุมชน
ผู้ป่วยจำแนกเป็นประเภท 1.เขียว ได้แก่ เดินได้หรือมีคนช่วยเหลือ: มาทำกิจกรรมฟื้นฟู กายภาพบำบัด การรับบริการความถี่ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ใช้บริการรถตู้ รถเก๋ง: นัดพบหมอ รพ.ศูนย์ ได้แก่ รพ.สงขลา/หาดใหญ่/นาทวี/บางกล่ำ และรพ.มอ. และไม่นัดพบหมอ แต่มาทำกายภาพบำบัด ณ รพ.ชุมชน 2.ประเภทเหลือง ได้แก่ ผู้ป่วยนั่งได้ ช่วยตัวเองได้ มาทำกิจกรรมฟื้นฟู กายภาพ การรับบริการความถี่ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ใช้รถตู้ รถเก๋ง 3.ประเภทแดง ได้แก่ ผู้ป่วยนอนติดเตียง มาพบแพทย์ ทำกายภาพ 1 ครั้งต่อเดือน ใช้รถนอน
กลุ่มเป้าหมายที่กองทุนฯจะให้บริการตามสิทธิ์โดยดำเนินการร่วมกับอปท.ผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล ไม่มีค่าใช้จ่าย มีเกณฑ์คือไม่มีผู้ดูแล/ยากจน/ตามสภาพอาการ/ไม่มียานพาหนะ กรณีประเภทผู้รับบริการจ่ายเอง ทีมกลางจะช่วยประสานส่งต่อ และวางมาตรฐานการบริการ
การให้บริการ ทีมกลางและม.อ.พัฒนา platform ต่อยอดจาก platform Health Assist ที่ภาคเอกชนได้พัฒนาและนำร่องจัดบริการให้กับผู้ป่วยโรคไตในพื้นที่ภาคเหนือ มารองรับการบริหารจัดการ ผู้ป่วยหรือญาติสามารถประสานเข้าระบบด้วยตนเอง หรือเจ้าหน้าที่รพ.ช่วยลงข้อมูลให้ ผ่าน line OA หรือApp หรือโทรตรงมายัง center จังหวัด สามารถเลือกบริการให้ตรงตามเกณฑ์การบริการ คือจ่ายเองหรือรัฐดูแล จากนั้นcenterกลางที่จะมีเจ้าหน้าที่ช่วยนำข้อมูลเข้าระบบ ประสานหน่วยบริการหลัก ได้แก่ รถของท้องถิ่น รถตู้ รถของขนส่ง และรถบริการเสริมจากขนส่งภาคเอกชน กรณีจ่ายเองจะมีการจัดตั้งกองทุนภายใต้ร่มบ.ประชารัฐรักสามัคคีสงขลา(วิสาหกิจเพื่อสังคม) มาดูแลระบบ สร้างความยั่งยืน และระบบเรียกจ่ายจากสิทธิ์ของกองทุนฯ
เขตเมืองนำร่องกลุ่มเป้าหมายหลัก IMC ประเภทสีแดงที่ยากไร้ ในอนาคตจะขยายไปยังคนพิการที่มีการมาเปลี่ยนอุปกรณ์,คนไข้ฟอกไต ผู้ป่วยโรคจิตเวช: กลุ่มเหล่านี้สามารถเบิกจ่ายผ่านกองทุนสุขภาพตำบล 350 ต่อคนหรือเหมาจ่าย 2,000 บาทต่อคัน ทีมกลางจะวางหลักเกณฑ์ย่อยของหน่วยบริการและร่วมบริการ โดยมีอบจ.จัดตั้ง center กลางในการประสานงาน
นำร่อง 4 แห่ง คือ อำเภอหาดใหญ่ อำเภอเมือง โดยอบจ.และกองทุนฟื้นฟู
และกลุ่มผู้ป่วยทั่วไปตามความต้องการ ในพื้นที่ห่างไกล ได้แก่ อำเภอสะบ้าย้อยและควนเนียงโดย ม.ราชภัฎสงขลา ที่จะดำเนินการผ่านงานวิจัยในกลุ่มเป้าหมายทั่วไปคู่ขนานกัน และมาเชื่อมโยงผ่าน center จังหวัดเดียวกัน
Relate topics
- พมจ.สงขลา เดินหน้าส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
- สร้างที่อยู่อาศัยโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน นวัตรกรรมทางความคิดเพื่อชุมชนเข้มแข็งชุมชนปันรักบ้านปันสุขตำบลท่าข้าม สงขลา
- เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน(ขสย.) รุกทำงานกับกองทุนสุขภาพตำบล สปสช.เขต 12 ไฟเขียวนำร่อง 18 พื้นที่ 6 จว.ลดปัจจัยเสี่ยงจากบุหรี่ไฟฟ้า
- ทีมวิชาการสร้างสุขภาคใต้ ชี้จุดร่วมทำนโยบายรับมือภัยพิบัติ
- "ประชุมภาคีเครือข่ายพัฒนาระบบผู้ดูแลผู้ป่วยจังหวัดสงขลา"
- สช.ผนึกกำลัง สกช. พอช. หารือขอบเขตความร่วมมือขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะปี 2568
- หยุดความรุนแรงในเด็กและสตรีขับเคลื่อนโดยกลไก พชอ. สู่ พชต. ในตำบลพื้นที่นำร่องตำบลบ่อยางและตำบลเกาะแต้ว จังหวัดสงขลา
- “รวมพลังเด็กนครศรีฯ เท่ได้ไม่ต้องสูบ“ เวทีสาธารณะป้องกันนักสูบหน้าใหม่ Smart No Smoking จังหวัดนครศรีธรรมราช
- การประชุมหารือ กขป.และเลขาร่วมเพื่อวางแนวทางการขับเคลื่อนโครงการฯ เขตพื้นที่ 11 พ.ศ. 2568
- ประชุมชี้แจงการดำเนินกิจกรรม “โปรแกรมการอบรมคู่มือพ่อแม่ (Parenting Education Sessions: PES) ยะลา