ทีมวิชาการสร้างสุขภาคใต้ ชี้จุดร่วมทำนโยบายรับมือภัยพิบัติ
ทีมวิชาการสร้างสุขภาคใต้ ชี้จุดร่วมทำนโยบายรับมือภัยพิบัติ
เครือข่ายนักวิชาการในภาคใต้ ที่มีสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับนักวิชาการจากวิทยาเขตภูเก็ต ปัตตานี มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) สำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิชุมชนไท The active และเครือข่ายสร้างสุขภาคใต้ ได้จัดเวทีวิเคราะห์และทำข้อเสนอเชิงนโยบายจัดการภัยพิบัติภาคใต้ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2567 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง
ในเวทีมีการทบทวนข้อมูลภัยพิบัติที่เกิดในช่วงปี ศ. 2004 – 2024 และแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ใน 7 ประเภทภัยพิบัติ น้ำท่วม-ภัยแล้ง ดินสไลด์-โคลนถล่ม วาตภัย-พายุ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ-PM2.5 และไฟป่า การกัดเซาะชายฝั่ง สึนามิแผ่นดินไหว และผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์
มีการนำเสนอผลการวิจัยจากทีมวิชาการ เช่น ด้านภัยพิบัติและภัยแล้ง มีตัวแบบเชิงนโยบายที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา-พัทลุง ที่แก้ได้ด้วยการสร้างความเข้มแข็งด้วยนวัตกรรม เช่น application สำหรับการช่วยเหลือผู้สูงอายุในสถานการณ์อุทกภัย Fishery care ชาวประมงในเขตน้ำท่วม การรับมือการรุกรานน้ำเค็มในเขตเกษตรกรรม คู่มือลดความเสี่ยงปรับตัวสู้ภัยแล้งภาคเกษตรกรรม เป็นต้น
มีข้อเสนอเชิงนโยบายที่สำคัญเช่น การมีศูนย์กลาง Data center ทางด้านภัยพิบัติ ทั้งรายพื้นที่และระดับประเทน เชื่อมโยงเป็นฐานข้อมูลชุดเดียวกัน มีระบบการสื่อสารสองทางเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง วิเคราะห์แผนความเสี่ยงเชิงพื้นที่ ทั้งมิติความยากจน ความเสี่ยงระดับชุมชนและครัวเรือน การสร้างเครือข่ายและเชื่อมเครือข่ายที่มีอยู่
นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอในการการเตรียมความพร้อม คน ชุมชน เครื่องมือ ในพื้นที่รับภัยพิบัติตามโซนพื้นที่ โดยใช้ กขล. ก่อนเกิดเหตุ ขณะเกิดเหตุและหลังเกิดเหตุ การเตรียมชุมชน มีหลักสูตรโรงเรียน ลุ่มน้ำ
นายจารึก ไชยรักษ์ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้กล่าวชื่นชมทีมนักวิชาการทุกท่านที่ได้นำเสนอข้อมูลผลกระทบจากภัยที่เกิดในภาคใต้ พร้อมทั้งได้เสนอให้มีแจกแจงภัยพิบัติให้ชัดเจนในแต่ละด้าน โดย สช. จะสนับสนุนการยกระดับการทำข้อมูลที่สั้น กระชับ ช่วยผลักดันนโยบาย นำไปปฏิบัติได้จริง ของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคการเมือง พร้อมยกระดับความรู้ของประชาชน ผลักดันให้ชุมชนเข้มแข็ง และสร้างพื้นที่การมีส่วนร่วม จากกลไกระดับเขตที่มี
"เพราะเมื่อยามใดที่เราหลับไหล (ไม่ตระหนักรู้และประมาทในการเตรียมการ) ภัยพิบัติมักจะมาเยือนเรา และจะทวีความรุนแรงขนาดใหญ่ ดังนั้นเราทุกคนต่างต้องเตรียมพร้อมตลอดเวลา"
ทางด้าน นายประดิษฐ์ นิจไตรรัตน์ ผู้แทน สสส. ได้เสนอให้มีกลไกการพัฒนารูปแบบและระบบการจัดการ โดยมีทีมผสมทั้งจากทีมวิชาการ ภาครัฐ ภาคประชาสังคม และเอกชน เข้ามาเป็นคณะทำงานย่อยผลักดันข้อเสนอ และวางระบบการจัดทำข้อมูล การสื่อสาร
และเนื่องในวาระที่จะครอบรอบ 20 ปีสึนามิ ในเดือนธันวาคมนี้ มีการนำเสนอรูปธรรมการจัดการทั้งนโยบายและปฎิบัติการในงานดังกล่าวด้วย
งานดังกล่าวมีหลายหน่วยงานร่วมกันจัดเพื่อนำเสนอบทเรียนการรับมือภัยพิบัติที่เกิดขึ้นทุกด้านในประเทศ รวมถึงยกระดับการทำข้อเสนอนโยบายที่ไปถึงการปฏิบัติของหน่วยงาน รัฐบาล ภาครัฐ วิชาการ ประชาสังคม และระดับ international และที่สำคัญคือ การใช้ความรู้ในการจัดการภัยพิบัติ ที่เกิดขึ้นในประเทศ (หน่วยงาน รัฐ ท้องถิ่น ประชาชน)
ดร.เพ็ญ สุขมาก ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะ ย้ำว่า การร่วมนำเสนอบทเรียนในช่วงครบรอบ 10 ปีสึนามิ เป็นไปเพื่อร่วมกันสร้างความตระหนักและรับมือให้ดีขึ้น ซึ่งภาคีวิชาการภาคใต้มุ่งมั่นในการใช้ฐานวิชาการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงระบบและโครงสร้างเพื่อรับมือกับภัยพิบัติที่จะเกิดกับสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีคนในสังคมไทยต่อไป
ข่าว: บัณฑิต มั่นคง
Relate topics
- ภารกิจภาคีเครือข่ายโครงการการพัฒนาระบบการจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติด้วยข้อมูล ความรู้ แบบสหวิทยาการในพื้นที่ประสบภัยพิบัติซ้ำซากจังหวัดปัตตานี
- ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อยกระดับพื้นที่นำร่องชุมชนสีเขียวเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านความมั่นคงทางอาหารภาคใต้
- สงขลา "ความสุขเริ่มที่บ้าน : ปรับสภาพบ้านคนพิการติดเตียงสิทธิ์บัตรทอง"
- ผนึกพลัง 24 องค์กรเครือข่ายร่วมจัดทำบันทึกความร่วมมือ(MOU)ข้อตกลงธรรมนูญสถานศึกษาปลอดภัย ป้องกันปัจจัยเสี่ยง ฯ ในเด็กและเยาวชน จังหวัดนครศรีธรรมราช
- เวทีสานพลังเครือข่ายในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะภาคใต้ เน้นประเด็นความมั่นคงทางอาหาร มนุษย์ สุขภาพ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการขับเคลื่อนแผนชุมชนสู่การพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณาการจังหวัดพัทลุง
- เครือข่ายเล่นเปลี่ยนโลก เปิดพื้นที่ “Let’s play festival” ปีที่ 2 เล่นอิสระใกล้บ้าน เพิ่มโอกาสเข้าถึงแหล่งเรียนรู้
- งานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 17 พ.ศ. 2567 (วันที่ 27-28 พฤศจิกายน 2567)
- เยาวชนต้องพร้อม สู่อาสาสมัครรับมือน้ำท่วม (สงขลา)
- การหารายได้เสริมจากผักที่เราปลูก: กรณีของ “กะละห์” ต้นแบบจาก Node สสส.ปัตตานี