อุบัติเหตุในพื้นที่อำเภอระโนด : พื้นที่นำร่อง Songkla Big Move ภายใต้โครงการ Thailand Big Move

  • photo  , 1000x750 pixel , 105,056 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 66,658 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 70,857 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 56,993 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 68,066 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 71,006 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 58,724 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 72,029 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 74,957 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 87,856 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 96,854 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 89,552 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 94,123 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 94,526 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 100,222 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 89,268 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 99,454 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 93,810 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 110,428 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 110,177 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 103,224 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 100,658 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 99,839 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 105,096 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 109,944 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 84,183 bytes.

"อุบัติเหตุในพื้นที่อำเภอระโนด"

เขียนโดย ชาคริต โภชะเรือง

เรียนรู้การดูแลความปลอดภัยของนักเรียนจากปัญหาอุบัติเหตุและจราจรของโรงเรียนระโนดวิทยา ซึ่งเป็น ๑ ใน ๒ โรงเรียนเป้าหมายของโครงการหนุนเสริมศักยภาพนักเรียนนักศึกษาเพื่อเอาชนะภัยท้องถนน จังหวัดสงขลา

ทีมงานลงพื้นที่ตั้งแต่เช้าสังเกตการณ์พฤติกรรมของนักเรียนก่อนที่จะมาร่วมแลกเปลี่ยนกันในห้องประชุม

จากปัญหานักเรียนเสียชีวิตจากอุบัติเหตุเมื่อสิบกว่าปีที่ผ่านมา อันเกิดจากปัญหาของถนน อำเภอระโนดเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีปภ.สาขามาตั้งอยู่ นำมาสู่ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาร่วมกับตำรวจจราจร จัดให้มีอาสาจราจรจากนักศึกษาวิชาทหาร รับสมัครนักเรียนที่สนใจ ทางตำรวจและปภ.เข้ามาเสริมศักยภาพให้สามารถปฎิบัติงานในโรงเรียน หน้าโรงเรียน รวมไปถึงขยายไปเป็นจิตอาสาในกิจกรรมสาธารณะของอำเภอ จากรุ่นสู่รุ่น การนำกลุ่มเสี่ยงมาเป็นจิตอาสาเท่ากับได้ประโยชน์หลายต่อ อาทิ นักเรียนเกิดจิตสำนึกและปรับพฤติกรรมจากการลงมือปฎิบัติและมองเห็นปัญหาที่เกิด นักเรียนได้ร่วมกับชุมชนมีกิจกรรมที่ทำร่วมกัน ได้เรียนรู้ชุมชน สังคม สร้างสำนึกรักษ์ถิ่น พร้อมกับยกระดับจิตใจในการทำประโยชน์เพื่อสาธารณะ

ระโนดมีโรงเรียนในพื้นที่หลายแห่ง เฉพาะโรงเรียนระโนดและระโนดวิทยาก็มีเด็กขี่มอเตอร์ไซด์ราว ๖ ร้อยคัน การมีอาสาจราจรมีส่วนช่วยลดสถิติอุบัติเหตุลงได้มาก โรงเรียนต้องการขยายผลเรื่องการสวมหมวกกันน็อคที่ยังเป็นแค่หมวกกัน "นาย" และหมวกกัน "ครู" รวมไปถึงการแก้ปัญหารถรับส่งที่มีน้อยและเด็กแออัด

ที่ประชุมที่ไม่เป็นทางการมีหลายภาคส่วนเข้ามาร่วม อาทิ โรงเรียน นักเรียน ตำรวจจราจร ปภ.สาขา สมาคมกู้ภัยฯ ท้องถิ่น ช่วยกันเสนอแนะ มีข้อเสนอสำคัญๆ

๑.ให้โรงเรียนทั้ง ๒ แห่งสอบถามความประสงค์จัดสอบใบขับขี่ พร้อมกับช่วยประสานขนส่งมาร่วมกับเอกชนในการจัดทำพรบ.ประกันภัยบุคคลที่ ๓ ที่นักเรียนไม่สามารถใช้สิทธิ์บัตรทองในกรณีอุบัติเหตุ และการจัดซื้อหมวกกันน็อคราคาพิเศษ ลงมาดำเนินการในโรงเรียน

๒.การทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการรถรับส่ง ให้ขับช้าลง จัดระบบการนั่ง รวมไปถึงการลดปัญหาขยะจากนักเรียนที่ขอให้จอดแวะซื้อจากร้านสะดวกซื้อ

๓.จัดทำเครื่องหมายจราจรภายในโรงเรียน "ขีดสีตีเส้น" เพื่อสร้างการเรียนรู้และสำนึกการใช้รถใช้ถนน

๔.นักเรียนจัดทำโครงงานรณรงค์ "สวมหมวกเพื่อใคร?" ในรูปแบบสื่อดิจิตอลและ social media

๕.ประสานขนส่งและหน่วยงาน นำสื่อที่มีมาเผยแพร่รณรงค์ให้กับนักเรียนในพื้นที่อำเภอระโนด ทั้ง ๑๐ แห่ง รวมถึงโรงเรียนเอกชน โดยร่วมกับปภ.สาขา นำงบประมาณที่ได้รับมาหนุนเสริม โดยเน้นการวิเคราะห์จุดเสี่ยง และเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา โดยเน้นประสบการณ์ตรงหรือนำเคสที่ประสบเหตุมาบอกเล่า

๖.ขยายผลรณรงค์หมวกกันน็อคเด็กเล็กในพื้นที่ศูนย์เด็กเล็กของ อปท.

๗.ส่งเสริมให้มีจิตอาสาธารณภัยสามากขึ้น จัดให้มีการรับสมัคร การพัฒนาศักยภาพ การมอบประกาศนียบัตรหรือคะแนนความดีสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นให้กับอาสาจราจร เช่น ชุด กรวย

๘.แก้ปัญหา ณ จุดเสี่ยงสำคัญ โดยเฉพาะวงเวียนหรือสี่แยกจัดทำป้ายเตือนและให้ความรู้ที่ถูกต้องกรณีให้รถเลนขวาไปก่อน สำรวจจุดวางป้ายที่เหมาะสม เช่น ป้ายหยุด

๙.จัดระบบบริหาร ให้มีเจ้าภาพหลักในการดำเนินการในระดับพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ส่งต่อข้อมูลจุดเสี่ยงบนถนนสายหลัก รอง ทำงานร่วมกันระหว่างทางหลวง อบจ. อปท. ปภ.สาขา อำเภอ ร่วมวางแผนแก้ปัญหาในชั่วโมงเร่งด่วน ที่มีทั้งรถ คน วัว รถแทรกเตอร์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาเสี่ยงนั่นคือ เช้า(ก่อน ๘ โมง) เย็น(หลังเลิกเรียน เลิกงาน) เที่ยงคืน-ดึก(กลุ่มเมาสุรา)

ขั้นตอนต่อไป ประสานภาคีเพิ่มเติมมาร่วมในเวทีใหญ่ ได้แก่ ขนส่ง อบจ. ทางหลวง รพ.ระโนด อำเภอ โรงเรียน อปท.ในพื้นที่เสี่ยง แต่ละหน่วยงานนำเสนอข้อมูลจุดเสี่ยง แนวทางแก้ไข และร่วมกำหนดจุดเสี่ยงอย่างน้อย ๑ จุดที่จะทำกิจกรรมแก้ปัญหาร่วมกับโรงเรียนและนักเรียน

ขอบคุณเจ้าภาพคือโรงเรียนระโนดวิทยาและปภ.สาขาระโนดด้วยครับ

Relate topics