เครือข่าย Songkhla Big Move ร่วมสร้างความแตกฉานด้านอุบัติเหตุ อำเภอเทพา

  • photo  , 960x540 pixel , 65,445 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 58,439 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 60,338 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 63,579 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 66,581 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 56,754 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 58,721 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 54,110 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 60,496 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 67,577 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 64,983 bytes.
  • photo  , 1440x1080 pixel , 153,382 bytes.

"ร่วมสร้างความแตกฉานด้านอุบัติเหตุ อำเภอเทพา"

นัดทีมงานและเครือข่ายโรงเรียนเทพพิทยาภาณุมาศ อำเภอเทพา นำโดยปภ.สาขาเทพา ปภ.สาขาระโนด สถานีตำรวจ รพ.เทพา ตัวแทนผู้ประกอบการรถรับส่ง ผู้บริหารโรงเรียน ครูแกนนำ นักเรียนแกนนำ โดยมีปลัดอาวุโส ท่านศรายุทธ เจียรมาศ ตัวแทนพชอ.เทพาให้เกียรติมาร่วม

สภาพปัญหาด้านอุบัติเหตุในพื้นที่อำเภอเทพาในภาพรวม สถิติเสียชีวิตลดลง และเป็นคนนอกพื้นที่ โดยเฉพาะทางหลวง ๔๓ ชนวัวของชาวบ้าน ส่วนสถิติอุบัติเหตุยังไม่ได้ลดลง จากปัญหาถนนสายรอง บริเวณทางแยก ทางโค้ง ถนนที่ไหล่ทางแคบ

ปัญหาการขับขี่ของนักเรียนที่มี ๓๒๔ คน อยู่ในช่วงมัธยมปลาย ๑๕๐ กว่าคน ยังมีพฤติกรรมการขับขี่เร็ว ประมาท ซ้อน ๓ ไม่สวมหมวกกันน็อค(สวมกัน "ครู" มากกว่าตระหนัก) โรงเรียนมีมาตรการคุมเข้มการใช้มอเตอร์ไซด์อนุญาตให้เฉพาะนักเรียนที่มีใบขับขี่และพรบ.บุคคลที่ ๓ เท่านั้น หรือมีกรณีเฉพาะที่จำเป็นจริง ตอนนี้มี ๒๔ คันเท่านั้น นอกจากนั้นมีผู้ประกอบการรถรับส่ง ๑๐ คัน มีกลุ่ม line ในการสื่อสาร

โดยมีจุดเสี่ยงสำคัญ

๑.หน้าโรงเรียน ต้องการให้มีไฟกระพริบ ไฟส่องสว่างทั้ง ๒ ฝั่ง ป้ายเตือน

๒. สามแยกบ้านหัวควน ต้องการไฟกระพริบ ป้ายเตือน

ข้อเสนอแนะจากการระดมความเห็นของกลุ่มนักเรียนและผู้ใหญ่ใจดี ประกอบด้วย

๑.ร่วมกันปรับข้อมูลจุดเสี่ยงอุบัติเหตุให้เป็นปัจจุบันทุก ๒ เดือน

๒.จับรูปแบบการเกิดอุบัติเหตุในแต่ละช่วงเวลา

๓.ปภ.สาขาและตำรวจจัดทีมสหวิชาชีพเป็นวิทยากรลงให้ความรู้กับนักเรียนในคาบเวลาส่งเสริมกิจกรรมปกติของนักเรียน

๔.รับสมัครอาสาจราจรและนักเรียนที่สนใจ โดยมีผู้ปกครองมาร่วม(โรงเรียนมีผู้ปกครองหมู่บ้านเป็นฐานอยู่ก่อนแล้ว)

๕.นักเรียนร่วมรณรงค์ปรับพฤติกรรมการขับขี่ปลอดภัย การสวมหมวก จัดทำเพจ ทำสื่อ เช่น ป้าย โดยเริ่มจากข้อมูลเชิงคุณภาพ นำมาสื่อสารผ่านเรื่องเล่าที่กระตุ้นสร้างความตระหนัก แล้วลงมือทำจะเกิดคุณภาพใหม่ จนเกิดประสบการณ์ตรงด้วยตัวเอง

๖.ประสานแขวงการทางปรับสภาพถนนที่เป็นพื้นที่เสี่ยง เพิ่มไฟ เจ้าหน้าที่ เข้มงวดกับการติดไฟท้ายรถบรรทุกยาง

๗.โรงเรียน ชุมชน อำเภอ ร่วมกันทำกิจกรรมพัฒนาปรับแต่งถนน ต้นไม้ กิ่งไม้ สร้างกระแสความรับรู้ต่อชุมชน

๘.วางระบบการทำงานร่วมกันระยะยาว

ชาคริต โภชะเรือง รายงาน

Relate topics