"Songkhla Big Move : หนุนเสริมโรงเรียนและเยาวชนเอาชนะภัยท้องถนน"
"Songkhla Big Move : หนุนเสริมโรงเรียนและเยาวชนเอาชนะภัยท้องถนน"
เพราะอุบัติเหตุเป็นเรื่องของทุกคน หาใช่เป็นภาระของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ภาวะความซับซ้อนทั้งปัจจัยภายในและภายนอกที่กดทับ ปิดกั้น ทำให้ปัญหาอุบัติเหตุเป็นปัญหาสังคมไปแล้ว การแก้ปัญหาจึงมิใช่มองปัจจัยที่เกี่ยวข้องแบบเดี่ยวโดด หากแต่สัมพันธ์กัน...
คน รถ ถนน นโยบาย ซึ่งมีมิติที่เกี่ยวข้องทั้งพฤติกรรมบุคคล สังคม วัฒนธรรมการทำงาน ความคิด ความเชื่อของแต่ละฝ่าย ซึ่งไม่เหมือนกัน แต่จำเป็นที่จะต้องมาทำงานร่วมกัน
จึงนำมาสู่การปรับฐานคิดการทำงาน
๑."เปลี่ยนคนดูให้เป็นคนเล่น" เยาวชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงจึงจำเป็นต้องมีส่วนร่วมมากกว่าเดิม
๒."มือ ๕ นิ้ว" เสมือนภาคีความร่วมมือที่จะต้องทำงานสอดประสานกันตามบทบาท รู้หน้าที่ของตน มีแต่หัวแม่มือเท่านั้นที่จะแตะทุกนิ้วได้
๓."เก้าอี้ ๔ ขา" องค์กรทั้งรัฐ ท้องถิ่น ประชาสังคม เอกชน จะต้องทำงานเสมอกัน ไปด้วยกัน ขาใดขาหนึ่งขาด ขาอื่นๆจะช่วยประคองตัว สร้างความต่อเนื่องในการทำงานไปได้
ทีมสงขลาภายใต้ความร่วมมือกันระหว่างมูลนิธิคนเห็นคน เครือข่ายองค์กรงดเหล้า ปภ.จังหวัด ปภ.สาขา มูลนิธิชุมชนสงขลาชักชวนคุณครูและนักเรียน เครือข่ายโรงเรียนระโนดวิทยา โรงเรียนเทพพิทยาภาณุมาศ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ ๑๒ แขวงการทางสงขลา สถานีตำรวจภูธรระโนด อบต.พังยาง บ.กลางคุ้มครองผู้ประสบภัย สถานีวิทยุ 2SEARadio สมาคมกู้ภัยอินทนิล สสอ.เทพา สถานีตำรวจภูธรห้วยปลิง สมาคมผู้บริโภค รพ.ระโนด รพ.เทพา พิธานพานิชย์ มาพบกัน ทีมหมอแมนก็ลงมาให้กำลังใจ
กิจกรรมเวทีกลางครั้งนี้พาทุกคนถอยกลับไปตั้งหลัก ตั้งแต่รูปแบบการจัดเวทีที่แตกต่างไปจากเวทีทางการที่คุ้นชิน ทุกคนนั่งบนพื้นเสมอภาคกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้แทนรัฐตำแหน่งต่างๆ ท้องถิ่น เอกชน สมาคม คุณครู นักเรียน หันหน้าเข้าหากัน เคารพในความแตกต่างและสื่อสารในฐานะมนุษย์ด้วยกัน วางเป้าหมายที่เห็นความร่วมมือในการทำงานและสร้างกระบวนการทำงานระหว่างทางให้เกิดความสุขของคนทำงานมากกว่าสนองตอบแต่ตัวชี้วัด รูปแบบการทำงานเครือข่ายแนวราบจะทำให้ทุกคนเกิดความไว้วางใจ ตระหนักในศักยภาพของตัวเอง เห็นเพื่อน เห็นมิตร เห็นโอกาสที่จะมาเชื่อมโยง แบ่งปันความรู้ประสบการณ์ และทำงานร่วมกัน โดยไม่ต้องใช้การสั่งการณ์
อ.ระโนด และอ.เทพา เป็น ๒ พื้นที่นำโรงเรียนมัธยมมาร่วมขับเคลื่อน เป้าหมายคือ สร้างความไว้วางใจในการทำงานแบบเครือข่ายที่มีผู้ที่เกี่ยวข้องหลายภาคส่วน และร่วมกันปรับพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงคือเยาวชน ลดจุดเสี่ยงสำคัญในพื้นที่
๑)นักเรียนทั้ง ๒ แห่งทำกิจกรรมรณรงค์ปรับพฤติกรรมขับขี่ของเยาวชนด้วยกัน บูรณาการไปกับคาบเรียนที่มี
๒)ในส่วนของผู้ใหญ่ใจดีทั้งหลาย เน้นลงแก้ปัญหา ณ จุดเสี่ยงสำคัญของแต่ละอำเภอ แผนระยะยาวที่มีงบจากปภ.จังหวัดมาหนุนมีเป้าหมายที่จะทำงานกับโรงเรียนมากขึ้น พร้อมกับขยายผลไปถึงศูนย์เด็กเล็ก จุดเด่นของสองพื้นที่ก็คือมีฐานเครือข่ายที่กว้าง หลากหลาย มีงบประมาณและนโยบายสนับสนุน เพียงแต่ต้องการความต่อเนื่องในการทำงานสามารถเชื่อมโยงผู้ที่เกี่ยวข้องมาร่วมมือกัน และปรับใช้เทคโนโลยีตามยุคสมัยอย่างเหมาะสม
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เสริมหนุน ให้ข้อเสนอแนะกันและกัน จึงเกิดภาพเด็กช่วยเด็ก ผู้ใหญ่ช่วยเด็ก ผู้ใหญ่ช่วยผู้ใหญ่ ข้ามพื้นที่ ข้ามองค์กร ข้ามแนวคิด
ร่วมสร้างความแตกฉานในการลดอุบัติเหตุสงขลา
ชาคริต โภชะเรือง รายงาน
๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๒
Relate topics
- สช.ผนึกกำลัง กขป. ทั่วประเทศเคลื่อนงานพัฒนารองรับสังคมสูงวัย มุ่งวางทิศชี้ทาง บูรณาการร่วม-เน้นทำบนฐานข้อมูลพื้นที่เป็นหลัก
- กขป.เขต ๑๒ จัดประชุมสร้างความร่วมมือการดำเนินงานปี ๒๕๖๘
- พมจ.กระบี่ ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน ร่วมออกแบบแผนปฏิบัติการปี 68 มุ่งสู่กระบี่อยู่เย็นเป็นสุข
- สสว.11 ชวนใช้ข้อมูลครัวเรือน(กลุ่มเสี่ยง)จากสมุดพกครอบครัวอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขับเคลื่อนเชิงนโยบายอย่างพุ่งเป้า
- เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) ชู “ข้อเสนอ 3 ข้อ” ปกป้องเด็กเยาวชนจาก “ภัยบุหรี่ไฟฟ้า” ในเวทีระดมความเห็นภาคีปฏิบัติการพื้นที่ “ภาคใต้”
- 17 ประเด็นที่เห็นจาก NHA17
- "ประชุม กขป.เขต 12 ทีมเล็ก"
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบและกลไกการจัดการพื้นที่ตำบลขอนหาด (ภาคีเครือข่าย สสส.)
- "พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงและกองเลขาแผนงานร่วมทุนฯสงขลา"
- ประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ.2567 “การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P): กุญแจสู่ความสำเร็จของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”