สมาคมอาหารธรรมชาติยั่งยืน นครศรีธรรมราชเริ่มตรวจแปลงสมาชิกในระบบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม PGS นครศรีธรรมราชปี 2564
สมาคมอาหารธรรมชาติยั่งยืน นครศรีธรรมราช เริ่มดำเนินการตรวจแปลงสมาชิก ประจำปี 2564 ในระบบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม PGS นครศรีธรรมราช
ที่มีการปรับปรุงมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับ ตามที่สมาชิกสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์ไทยพีจีเอสช่วยแนะนำจากการตรวจไขว้ (peer audit) และจะดำเนินการตรวจรับรองตามกำหนดการและแผนงานที่วางไว้ เพื่อขับเคลื่อนสู่มหานครอาหารปลอดภัย
เกณฑ์มาตรฐาน PGS นครศรีธรรมราช 2564 : เกษตรอินทรีย์ (ปรับปรุง สิงหาคม 2563)
ด้านความใส่ใจ (CARE)
1.ระยะเวลาปรับเปลี่ยนจากเคมีสู่อินทรีย์ใช้เวลา 1 ปีสำหรับพืชล้มลุก / 1 ปีครึ่งสำหรับพืชยืนต้น
2.ต้องมีการบันทึกข้อมูลและกิจกรรมในแปลง
3.บรรจุภัณฑ์ต้องไม่เคยบรรจุสารเคมีมาก่อน
4.การปลูกพืชคู่ขนานต้องมีมาตรการแยกแยะผลผลิตให้ชัดเจน และต้องปรับเปลี่ยนเป็นอินทรีย์ทั้งหมดภายใน 3 ปี
ด้านสุขภาพ (HEALTHY)
5.เมล็ดพันธุ์ ต้องรู้แหล่งที่มา ต้องไม่เป็นพืช GMO , ต้องไม่เป็นพืชฉายแสง และไม่ปนเปื้อนสารเคมี
6.ผลิตเมล็ดพันธุ์หรือส่วนขยายพันธุ์เองอย่างน้อย 3 ชนิด เป็นการอนุรักษ์พรรณพืชท้องถิ่น
7.ห้ามใช้ฮอร์โมน สารเคมีสังเคราะห์หรือสารเคมีทางการเกษตรในแปลงเด็ดขาด และไม่ใช้ปัจจัยการผลิตที่สมาคมฯไม่อนุญาต
8.มีการจัดเก็บอุปกรณ์ ปัจจัยการผลิตให้เป็นสัดส่วนไม่นำมาปนกับสารเคมี
9.ห้ามใช้มูลสัตว์ที่ได้จากการผลิตสัตว์ที่ไม่เป็นธรรม และไม่ใช้สิ่งขับถ่ายของมนุษย์บนพืชที่เป็นอาหารมนุษย์
ด้านระบบนิเวศน์ (ECOLOGY)
10.ปลูกพืชใช้ดินเป็นหลัก ช่วยอนุรักษ์ดินและปรับปรุงโครงสร้างดิน ให้มีความอุดมสมบูรณ์และหลากหลายทางชีวภาพของดิน
11.ต้องมีพืชอาหารในแปลงอย่างน้อย 10 ชนิด สร้างความมั่นคงทางอาหาร
12.ต้องมีไม้ยืนต้นอย่างน้อย 5 ชนิดในแปลง และอย่างน้อย 5 ต้นต่อไร่ สร้างความยั่งยืนและความหลากหลายในระบบนิเวศน์
13.มีแนวกันชนป้องกันสารเคมีจากแปลงข้างเคียงโดยประเมินจากความเสี่ยง
14.มีมาตรการป้องกันการเสื่อมโทรมของสภาพดิน ได้แก่ การป้องการการชะล้างหน้าดิน การป้องกันดินเค็มโดยวิธีการทางนิเวศ
15.มีการจัดการน้ำและใช้น้ำอย่างยั่งยืน โดยน้ำที่นำมาใช้ต้องมั่นใจว่ามีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้
16.ดูแลสภาพแวดล้อมในแปลง มีการจัดการขยะอย่างเหมาะสม หากมีการเผา ห้ามเผาไล่ทุ่ง
ด้านความเป็นธรรม (FAIRNESS)
17.ผู้รับการตรวจต้องยินยอมให้ตรวจ และเปิดเผยข้อมูลการผลิต สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้
18.การจ้างงานและแรงงานต้องเป็นธรรม
19.พึ่งพาตนเองน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางดำเนินการในแปลง เช่น ผลิตปัจจัยการผลิตเอง ได้แก่ ปุ๋ยชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพ เป็นต้น
ขอบคุณข้อมูลจากเพจ สมาคมอาหารธรรมชาติยั่งยืน นครศรีธรรมราช
Relate topics
- กขป.11 ประชุมสรรหากรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนที่มีวาระการดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2568 - 2572
- บพท. และ ม.อ.ปัตตานี จับมือ พอช. พร้อมบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนเพื่อร่วมพัฒนาตำบลแก้จนนำร่องในพื้นที่เมืองปัตตานี
- System Map และ ข้อเสนอเชิงนโยบาย 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ (เครือข่าย กขป.เขต 12)
- การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความมั่นคงทางอาหาร
- ตำบลพุมเรียง ชูผักไชยา และปลาอินทรีย์ ปั้นเมนูสุขภาพกินดี อยู่ดี ลด NCDs ที่พุมเรียง
- ต้นทุนเพื่อการพัฒนา จากทีมสนับสนุนชุมชนน่าอยู่เล็ก ๆ สู่โมเดลสุขภาวะชุมชนภาคใต้
- คสช.รับทราบผลการขับเคลื่อนนโยบายปกป้องและคุ้มครองเด็ก-เยาวชนจาก “บุหรี่ไฟฟ้า” ของ สช.-หน่วยงานภาคี
- พลังงานวิจัย “เรื่องบทบาทและการมีส่วนร่วมต่อการสร้างสันติภาพของสตรีในจังหวัดชายแดนภาคใต้”
- เครือข่ายร่วมหารือการจัดทำแนวทางขับเคลื่อนกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ในพื้นที่ ต.วิชิต ภูเก็ต
- "กขป.เขต 12 เกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ"