ประชุมคณะทำงานกลุ่มจังหวัดอันดามัน เวทีเรียนรู้และพัฒนาโครงการของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ ฝั่งอันดามัน (พื้นที่เขต 11 และเขต 12)

  • photo  , 1000x563 pixel , 107,273 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 118,306 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 119,715 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 117,100 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 114,170 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 124,079 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 111,600 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 93,715 bytes.
  • photo  , 1000x594 pixel , 102,141 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 104,295 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 108,993 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 113,035 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 116,079 bytes.
  • photo  , 1000x613 pixel , 125,693 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 129,922 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 106,727 bytes.

ประชุมคณะทำงานกลุ่มจังหวัดอันดามัน เวทีเรียนรู้และพัฒนาโครงการของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ ฝั่งอันดามัน

วันที่ 29-30 มกราคม 2566 ณ ห้องประชุมโรงแรมภูงา อำเภอเมือง จังหวัดพังงา

โดยมีระเบียบวาระและสาระสำคัญ ดังนี้

วาระที่ 1 เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

1.1 นโยบายของคณะอนุกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)

วาระที่ 2 เรื่องสืบเนื่อง

2.1 ทิศทาง เป้าหมาย กลไกโครงสร้างการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดอันดามัน

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

1)การจัดกลไกคณะทำงานต้องออกแบบให้มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดอันดามัน เพื่อให้การขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

2)ทบบาทคณะทำงานกลุ่มจังหวัดอันดามัน เน้นการขับเคลื่อนหนุนเสริมการทำงานระดับจังหวัด เชื่อมร้อยยกระดับสู่ความเข้มแข็ง ผลักดันเชิงนโยบาย การเชื่อมโยงประสานงานกับหน่วยงานภาคีในพื้นที่

3)สัดส่วนของกลไกคณะทำงาน เดิม จาก 3 ส่วน คือ ผู้แทนขบวนจังหวัด ผู้แทนกลุ่มจังหวัด ผู้แทนหน่วยงานภาคี ภายใต้การขับเคลื่อน 4 ยุทธศาสตร์หลัก

(1)ความเข้มแข็งองค์กรชุมชน

(2)ความมั่นคงที่ดินที่อยู่อาศัยสวัสดิการ

(3)ความมั่งคงทางทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

(4)การเติบโตเศรษฐกิจชุมชนที่ยั่งยืน สู่การเป็นสถาบันองค์กรชุมชน

4)การขับเคลื่อนจากกลุ่มจังหวัดอันดามันต้องแบ่งชุดปฏิบัติการออกตามยุทธศาสตร์ทั้ง 4 ยุทธ เพื่อให้การทํางานสามารถขับเคลื่อนตามภารกิจหลักนำไปสู่การยกระดับเป็นสถาบันองค์กรชุมชน

5)กลไกของกลุ่มจังหวัดอันดามันมีทั้งหมดกี่คณะ และแต่ละคณะต้องมีการทบทวนโครงการ การทำงาน และออกแบบให้ไปในทิศทางเดียวกัน

6)คณะชุดเล็กในการออกแบบการขับเคลื่อนกลุ่มจังหวัดอันดามัน และให้เพิ่มองค์ประกอบแทนจาก ภาคีหน่วยงานจาก สสส. สช. สป.สช.เขต 11 สภาพัฒน์ หอการค้า เข้ามาร่วมออกแบบ เพื่อวางทิศทางเป้าหมายร่วม ที่ว่าด้วยเรื่องความมั่นคงทางสุขภาพ ทรัพยากรฯ สิทธิมนุษยชนที่ต้องเพิ่ม เข้ามาให้เกิดทุกมิติ รวมถึงงบประมาณในการสนับสนุน

มติ คณะทำงานฯ เห็นชอบ และมอบหมายให้คณะทำงานตั้งชุดเล็ก ประกอบด้วย

1.คุณอริยา แก้วสามดวง

2.คุณอกนัฐ บุญยัง

3.คุณไมตรี จงไกรจักร

4.คุณสมบูรณ์ คำแหง

5.คุณจีรศักดิ์ พูลสงค์ เจ้าหน้าที่ พอช. ในการสังเคราะห์ และออกแบบเป้าหมาย ทิศทาง กลไกโครงสร้างการทำงาน ที่ครอบคลุมทุกมิติ


2.2 โครงการการขับเคลื่่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนพื้นที่จังหวัดอันดามัน (ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล) ทีม NewGen

งบประมาณในการสนับสนุนประจำปี 2565 จำนวน ทั้งสิ้น 3,830,000 บาท ซึ่งมียอดคงเหลือประมาณ 842,368 บาท ภายใต้การดำเนินงานตามแผนงานโครงการ 4 แผน ดังนี้

แผนที่ 1 การเชื่อมโยงการขับเคลื่อนงาน พัฒนาโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปบทเรียน พัฒนาทักษะทีมทำงาน คณะทำงานเชิงพื้นที่ และภูมินิเวศ ติดตามการทำงานของขบวนองค์กรชุมชน ประชาสังคมและภาคีที่ เกี่ยวข้อง ใน 6 จังหวัดภูมินิเวศพื้นที่อันดามัน

แผน 2 การประสานความร่วมมือเชิงนโยบายใน 6 จังหวัด/ ส่วนกลาง

แผนที่ 3 การสรุปบทเรียนและการจัดการองค์ความรู้สื่อสารและประชาสัมพันธ์ และติดตามประเมินผล

แผนที่ 4 สนับสนุนการขับเคลื่อนพัฒนาโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทํางานของขบวนองค์กรชุมชนและภาคประชาสังคมและบริหารจัดการลงพื้นที่หนุนเสริม ติดตาม ขบวนองค์กรชุมชน และประชาสังคม ประกอบด้วย

จังหวัดพังงา 504 ครัวเรือน

จังหวัดกระบี่ 100 ครัวเรือน

จังหวัดตรัง 207 ครัวเรือน

เป้าหมายครัวเรือนที่จะดำเนินการ ปี 2566 ดังนี้

จังหวัดพังงา 424 ครัวเรือน

จังหวัดภูเก็ต 44 ครัวเรียน

จังหวัดกระบี่ 83 ครัวเรือน

จังหวัดสตูล 534 ครัวเรือน

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม จังหวัดให้สรุปงานเดิม และงบประมาณที่ใช้จ่ายตามจริง เพื่อให้รับทราบสถานการณ์งบประมาณ และจังหวะก้าวของการขับเคลื่อนงานร่วมกัน พร้อมจังหวัดจัดทำโครงการฯ ประจำปีงบประมาณ 2566

มติ คณะทำงานฯเห็นชอบ จังหวัดดำเนินการสรุปผลการทำงาน และงบประมาณ ปี 2565 พร้อมพัฒนา โครงการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 5 มีนาคม 2566

วาระที่ 3 เรื่อง พิจารณาโครงการ

3.1 โครงการระดับจังหวัด

มติ ให้ทุกจังหวัดปรับแก้ไขข้อมูลเพิ่มเติมตามความเห็นที่ประชุม

3.2 โครงการระดับตำบล

มติ ให้ทุกตำบลปรับแก้ไขข้อมูลเพิ่มเติมตามความเห็นที่ประชุม

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมภาพรวม จังหวัดต้องกลับไปดำเนินการจัดทำเอกสารโครงการฯ ส่งตามวันเวลาที่กำหนด ถ้าจังหวัดไหนไม่สามารถดำเนินการจัดทำโครงการ ส่งได้ทัน หรือมีการเปลี่ยนแปลงกลุ่มเป้าหมาย ต้องรีบแจ้งมายังภาค ก่อนวันที่ 5 ก.พ. 66

3.3 แผนงานดำเนินงานระยะต่อไป

(1)กําหนดส่งโครงการ

-โครงการทุกโครงการส่งเอกสาร ภายในวันที่ 5 ก.พ.66

-โครงการทุกโครงการต้องบันทึกเข้าระบบภายในวันที่ 6 ก.พ.66

(2)กระบวนการพิจารณาโครงการกลุ่มจังหวัดอันดามัน

-วันที่ 7 ก.พ. 66 (ช่วงบ่าย) คณะพิจารณาโครงการ คณะทำงานกลุ่มจังหวัดอันดามัน ผู้แทนขบวนจังหวัดทั้ง 6 จังหวัด และเจ้าหน้าที่ พอช. ลงพื้นที่ตำบลบางเตย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานพัฒนาร่วมกันกับพื้นที่

-วันที่ 8 ก.พ.66 เวทีพิจารณาโครงการกลุ่มจังหวัดอันดามัน ทั้ง 6 จังหวัด ใช้เวลานำเสนอ จังหวัดไม่เกิน 10 นาที

มติคณะทํางานๆ เห็นชอบ

สนับสนุนโดย

คณะทำงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดอันดามัน

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) พอช.สำนักงานภาคใตั

สื่อชุมชนจังหวัดกระบี่ รายงาน

Relate topics