"ความร่วมมือกับ พอช.ภาคใต้"

  • photo  , 1477x1108 pixel , 192,902 bytes.
  • photo  , 1000x562 pixel , 99,790 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 184,268 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 177,373 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 190,731 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 112,633 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 132,225 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 148,783 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 119,201 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 123,538 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 112,894 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 132,472 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 150,003 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 139,276 bytes.

"ความร่วมมือกับ พอช.ภาคใต้"

วันที่  21 มีนาคม 2566 ทีมกลางสช. ร่วมกับ กขป.เขต 12 หารือการทำงานร่วมกันระหว่างพอช.(สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน)พื้นที่ภาคใต้ ณ สำนักงานภาคใต้ จ.พัทลุง

เริ่มด้วยการเรียนรู้การทำงานของ 2 องค์กร คือ พอช.และสช. ในด้านแผนงาน ทิศทาง โครงสร้างองค์กร โดยเฉพาะแผนปี 66 และหารือแนวทางความร่วมมือ มีข้อสรุปเบื้องต้น สนับสนุนการทำงาน ชี้เป้าและเชื่อมโยงงานหนุนพื้นที่เน้นระดับจังหวัด(จังหวัดบูรณาการของพอช.และสมัชชาสุขภาพจังหวัดของสช.)และตำบลในจังหวัดนั้นๆ

พร้อมกับวางจังหวะการทำงาน

1)เรียนรู้การทำงานของแต่ละองค์กร(แผนงานนโยบาย/โครงสร้าง-กลไก/ประเด็น/เครื่องมือ/ทุนทางสังคม) โดยมีทั้งวงกลาง และการเรียนรู้กับพื้นที่ปฏิบัติการ ให้มีกลไกทีมกลางของ 2 องค์กรและภาคี(ในอนาคต)จะช่วยวิเคราะห์ฐานหลักของงานพื้นที่แต่ละระดับ สร้างข้อต่อการทำงาน Mapping ประเด็นร่วม/พื้นที่ร่วม เพื่อพัฒนากระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะ และกลไกร่วมตามความสมัครใจ
2)การพัฒนาระบบสารสนเทศกลาง ร่วมกับกขป.เขต 12 มุ่งหวังให้มีฐานข้อมูลร่วมเชิงประเด็น/พื้นที่(ตามยุทธศาสตร์ร่วมขององค์กรความร่วมมือ)

-ข้อมูลบุคคล/ครัวเรือน เน้นไปที่กลุ่มเป้าหมายของโครงการ/กิจกรรม ไปเชื่อมโยงกับข้อมูลของหน่วยงานรัฐอื่นๆ โดยใช้ฐานความร่วมมือระดับจังหวัดรองรับ เช่น ร่วมกับกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดกรณีกลุ่มเปราะบางทางสังคม/ที่อยู่อาศัย/อาชีพ หรืออื่นๆ ซึ่งจะพัฒนาความร่วมมือหลังจากได้เรียนรู้กันและกันมากขึ้น

-ข้อมูลติดตามแผนงานโครงการ ระดับองค์กร แลกเปลี่ยนข้อมูล/ระบบข้อมูลเพื่อส่งต่อ เชื่อมโยงการทำงานกันและกัน กับสนับสนุนองค์กรชุมชนในการใช้ระบบติดตามโครงการของ www.Happynetwork.org

3)เสริมหนุนปฏิบัติการประเด็นงานในพื้นที่ตำบล/จังหวัดเป้าหมาย(ทีมกลางไป Mapping อีกครั้ง)  อาทิ...ที่อยู่อาศัย อาชีพ/รายได้ สวัสดิการ เพื่อให้เกิดกลไกร่วม แผนงานร่วมปฎิบัติการร่วม ผ่านกระบวนการนโยบายสาธารณะ/ธรรมนูญและแผนพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อเป้าหมายคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางทางสังคม/ผู้มีรายได้น้อย รวมถึงเปิดช่องการทำงานร่วมกันตามจังหวะโอกาสเปิดให้ เช่น ตำบลรองรับสังคมสูงวัย/ธรรมนูญตำบล งานสร้างสุขภาคใต้

โดยสร้างช่องทางสื่อสารกลางผ่านกลุ่มไลน์ แลกเปลี่ยนข้อมูลการทำงาน และนัดหมายเรียนรู้กับพื้นที่ปฎิบัติการร่วม ประเดิม ต.บ่อยาง ทน.สงขลา ที่เป็นพื้นที่ร่วมด้านที่อยู่อาศัยในเขตเมือง ร่วมถึงคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบาง ที่ทำงานร่วมกันทั้งพอช.และสช.และภาคีอื่นๆ โดยประสานภาคีพอช.ระดับตำบล/จังหวัดเข้าร่วม นำเสนอภาพการทำงานระดับจังหวัดควบคู่ไปด้วย โดยทีมสมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาเป็นเจ้าภาพวันที่ 28 เมษายน 2566

ชาคริต โภชะเรือง  บันทึกเรื่องราว


เชื่อมงานสานใจให้ถึงใต้สร้างสุข

วันที่ 21 มีนาคม, สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สำนักงานปฏิบัติการภาคใต้ โดย ผอ. ภาค ได้เปิดบ้านเชิญ node สสส. เลขา กขป. ทีม happynetwork และ สนพ. สช. ภาคใต้ ปรึกษาหารือถึงความร่วมมือ เพื่อพัฒนาและยกระดับสุขภาวะชุมชนภาคใต้ ได้แก่
1)เรียนรู้ เห็นหน้างานและระบบการทำงานของแต่ละองค์กร (แผนงานนโยบาย/โครงสร้าง-กลไก/ประเด็น/เครื่องมือ) ทั้งของ พอช. และ สช. ในพื้นที่ภาคใต้ 14 จังหวัด

2)ร่วมกันหาจุดเชื่อมต่อ สร้างวงกลาง เพื่อวิเคราะห์ฐานหลักของงานพื้นที่แต่ละระดับ ได้แก่ ระดับภาค งานสมัชชาสร้างสุขภาคใต้ ระดับเขต / กลุ่มจังหวัด ระดับจังหวัด ระดับตำบล/พื้นที่ปฏิบัติการ ให้รู้ถึงจุดข้อต่อการทำงาน Mapping ประเด็นร่วม/พื้นที่ร่วม กระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะ

3)ร่วมกันเสนอแนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศกลาง สนับสนุนการทำงาน ชี้เป้าและเชื่อมโยงงานหนุนพื้นที่/ขบวนสภาองค์กรชุมชน+ลดช่องว่าง ครอบคลุมทุกกลุ่มประชากร

4)เตรียมคน เตรียมเครือข่าย ถ่ายระดับการแลกเปลี่ยนไปในระดับพื้นที่ ได้แก่ เลือกตำบลบ่อยาง จังหวัดสงขลา เป็นพื้นที่ปฏิบัติการร่วม, เลือกจังหวัดปัตตานีเป็นจังหวัดบูรณาการระหว่างองค์กรและเครือข่าย , เลือกประเด็นรองรับสังคมสูงวัยเป็นนโยบายสาธารณะกลาง ที่ไปเคลื่อนต่อในระดับตำบล , เลือกเครื่องมือธรรมนูญชุมชน มาใช้ในการยกระดับแผนพัฒนาคุณภาพชีวิต

5)ขยับต่อได้แก่ วันที่ 23 มีนาคม ร่วมกันจัดกระบวนการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฉบับ 13 ร่วมกับสภาพัฒน์ฯ / WS.จังหวัดบูรณาการ วันที่ 29 มีนาคม/เรียนรู้เครื่องมือการพัฒนาตำบลสุขภาวะ ที่ตำบลบ่อยาง วันที่ 28 เมษายน

บัณฑิต มั่นคง  บันทึกเรื่องราว

Relate topics