ความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนเครือข่ายตำบลสุขภาวะภายใต้โครงการร่วมสร้างเครือข่ายสุขภาวะชุมชนบนฐานอัตลักษณ์ชุมชนอย่างยั่งยืน (สสส.สำนัก3)
การประชุมเชิงปฏิบัติการและพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนเครือข่ายตำบลสุขภาวะภายใต้โครงการร่วมสร้างเครือข่ายสุขภาวะชุมชนบนฐานอัตลักษณ์ชุมชนอย่างยั่งยืน
ระหว่างวันที่ 5 - 6 มีนาคม พ.ศ. 2567 ณ อาคารอเนกประสงค์ องค์การบริหารส่วนตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
มีวัตถุประสงค์หลักสี่ประะการคือ
หนึ่ง เพื่อสร้างความเข้าใจแนวทางการขับเคลื่อนเครือข่ายตำบลสุขภาวะที่ยั่งยืน
สอง เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรียนรู้เครื่องมือที่นำใช้ในการขับเคลื่อนเครือข่ายตำบลสุขภาวะที่ยั่งยืน
สาม เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการตามแนวทางการดำเนินงาน และแผนการใช้งบประมาณโครงการ
สี่ เพื่อลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือของศูนย์จัดการเครือข่ายองค์การบริหารส่วนตำบลตำบลโคกเคียน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเครือข่ายทั้ง 8 แห่ง
โดยกิจกรรมในวันแรก ประกอบด้วย
พิธีเปิดเวทีจัดการความรู้ และกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม โดย นายรุสลัน อารง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโคกเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส
ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม โดย นายนัศรุดดีน เจตนรากุล ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.โคกเคียน
ทำความเข้าใจแนวทางการดำเนินงาน “โครงการร่วมสร้างเครือข่ายสุขภาวะชุมชนบนฐานอัตลักษณ์ชุมชนอย่างยั่งยืน” โดย นายมานะ ช่วยชู ผู้จัดการศูนย์สนับสนุนวิชาการเพื่อการจัดการเครือข่ายพื้นที่ภาคใต้
เวทีเสวนา “ร่วมขับเคลื่อนสานพลัง 4+1 เพื่อตำบลน่าอยู่”
โดยผู้แทน 4 + 1 องค์กรหลัก
1)ผู้แทนท้องถิ่น : นายรุสลัน อารง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโคกเคียน
2)ผู้แทนท้องที่ : นายมะยา มามะ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2
3)ผู้แทนชุมชน : นายสมาน ผ่านพรม ปราชญ์ชาวบ้าน
4)ผู้แทนหน่วยงานรัฐ : อาจารย์ ดร.อิบรอฮีม สารีมะแซ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
5)ผู้แทนศาสนา : นายซัมซูดิง แมกอมือแน ผู้นำศาสนา หมู่ที่ 10
ดำเนินรายการโดย นายนัศรุดดีน เจตนรากุล ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.โคกเคียน
ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการฯ แก่สมาชิกเครือข่าย
1)แนวทางการพัฒนาข้อมูลและการนำใช้ข้อมูล
2)การสนับสนุนกิจกรรมของพื้นที่เครือข่าย
3)การพัฒนาศักยภาพ 5 นักสร้างเสริมสุขภาวะชุมชน
4)การจัดตั้งคณะทำงานของพื้นที่เครือข่าย
5)ขั้นตอนการสนับสนุนงบประมาณและแนวทางการเบิกจ่าย
โดย นายนัศรุดดีน เจตนรากุล ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.โคกเคียน
กิจกรรมทบทวนและออกแบบการดำเนินงาน
ปฏิบัติการที่ 1 ประมวลสถานการณ์สุขภาวะชุมชนพื้นฐาน 5 ด้าน และทุนทางสังคมในพื้นที่ โดย ทีมงานศูนย์จัดการเครือข่ายองค์การบริหารส่วนตำบลตำบลโคกเคียนและ อปท.เครือข่าย
ปฏิบัติการที่ 2 สอบทานและนำเสนอกิจกรรมเสริมสร้างความเข้มแข็งการขับเคลื่อนเครือข่ายสุขภาวะชุมชนท้องถิ่น โดย ทีมงานศูนย์จัดการเครือข่ายองค์การบริหารส่วนตำบลตำบลโคกเคียนและ อปท.เครือข่าย
สรุปทิศทางการขับเคลื่อนเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นสู่ตำบลจัดการสุขภาวะยั่งยืน
ให้ข้อเสนอแนะโดย
นายมานะ ช่วยชู ผู้จัดการศูนย์สนับสนุนวิชาการเพื่อการจัดการเครือข่ายพื้นที่ภาคใต้
นายนัศรุดดีน เจตนรากุล ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.โคกเคียน
สรุปสาระสำคัญ
"การบูรณาการทำงานของสี่ภาคส่วนในืพ้นที่ตำบลโคกเคียนนั้น มีส่วนขององค์กรทางศาสนาเข้ามาเป็นกลไกสำคัญ เนื่องจากในพื้นที่เป็นชุมชนมุสลิม ทุกประเด็นการทำงาน บูรณาการร่วมกันระหว่าง "กฏหมาย" อันเป็นหลักการปกครอง และ "หลักศาสนา" อันเป็นจารีตท้องถิ่น ที่ใช้ในการปกครองดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ไปพร้อมกัน"
"ประเด็นสำคัญของการพัฒนาพื้นที่คือ การมี "ข้อมูล" เพื่อการแก้ไขปัญหาในประเด้นต่าง ๆ ของพื้นที่ ภาควิชาการในพื้นที่ มีบทบาทสำคัญที่จะช่วยสนับสนุน ทั้งองค์ความรู้ของพื้นที่ หรือบทเรียนการดำเนินงานของพื้นที่เครือข่าย"
สมาชิกตำบลเครือข่ายขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกเคียน มีประเด็นที่มุ่งเป้าจะขับเคลื่อนได้แก่
ประเด็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านการจัดการขยะ การจัดการพื้นที่ป่าพรุ (กติกาชุมชน)
ประเด็นการจัดการสุขภาพ ด้าน การดูแลกลุ่มเปราะบาง ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ด้านโรคไม่ติดต่อ (NCDs.)
ประเด็นการจัดการภัยพิบัติ ด้าน การจัดการน้ำท่วมขัง
ประเด็นเด็กและเยาวชน ด้านปัญหายาเสพติด การพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชน ภาวะซีดในเด็กปฐมวัย ภาวะการขาดสารอาหารในเด็กปฐมวัย
ประเด็นเศรษฐกิจชุมชน ด้าน การสร้างรายได้ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน การจัดตั้งกลุ่มอาชีพ
วันที่สองของกิจกรรม
การประชุมเชิงปฏิบัติการและพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนเครือข่ายตำบลสุขภาวะ ภายใต้โครงการร่วมสร้างเครือข่ายสุขภาวะชุมชนบนฐานอัตลักษณ์ชุมชนอย่างยั่งยืน
กล่าวต้อนรับ และชี้แจงวัตถุประสงค์ โดย นายรุสดี ปูรียา นายอำเภอเมืองนราธิวาส
แลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการพื้นที่ และสรุปทิศทาง เป้าหมายการดำเนินงานศูนย์จัดการเครือข่ายและอปท.เครือข่าย โดย นายนัศรุดดีน เจนรากุล ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.โคกเคียน และผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเครือข่าย
ให้ข้อเสนอแนะ โดย ว่าที่ ร้อยตรี เลิศเกียรติ วงศ์โพธิพันธ์ กรรมการกำกับทิศทางของแผนสุขภาวะชุมชน พื้นที่ภาคใต้
หนึ่ง การมีมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ในพื้นที่ หลายประเด็นงานพัฒนานั้นสามารถใช้ภาควิชาการในการช่วยขับเคลื่อนอย่างจริงจัง คาดหวัว่า มหาวิทยาลัยจะเข้ามาช่วยอย่างจริงจัง เพื่อการพัฒนานวัตกรรมในพื้นที่
สอง ประเด็นเรื่อง การมีงานส่งเสริมศิลปาชีพมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน สินค้า ผลผลิต ผลิตภัณฑ์ ที่มีนั้น มาจากการต่อยอดจากแนวพระราชดำริของสมเด็จพระพันปีหลวง
สาม แหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ในตำบลโคกเคียน จะพัฒนาต่อยอด ยกระดับไปสู่การเป็นแหล่งเรียนรู้ของตำบลเครือข่าย รวมถึง ตำบลอื่น ๆ ในพื้นที่ชายแดน เช่น เรื่องของการจัดการขยะที่ตำบลโคกพยอม เรื่องนวัตกรรมการจัดการทางสังคม เรื่องหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง เรื่องการตั้งรับกับประเด็นปัญหาที่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้น การจัดการปัญหาไฟป่า เป็นต้น
นำเสนอทิศทางกิจกรรมเสริมสร้างความเข้มแข็งการขับเคลื่อนเครือข่ายสุขภาวะชุมชนท้องถิ่น โดย ตัวแทนเครือข่าย
สร้างความเข้าใจเป้าหมายและยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนขบวนการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ โดย ดร.นิสา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก 3) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
สาระสำคัญ
"การทำงานของเครือข่ายตำบลสุขภาวะ ตั้งอยู่บนชุดข้อมูลที่แต่ละตำบลได้ดำเนินการทำ ผ่านการทำข้อมูล TCNAP ข้อมูล RECAP รวมถึงประเด็นที่เป็นยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนงาน ทั้ง 13 ประะเด็นของ สสส."
ทิศทางการขับเคลื่อนการพัฒนาสุขภาวะชุมชน โดย นายณัฐพงศ์ ศิริชนะ กรรมการบริหารแผน คณะที่ 3 และประธานกรรมการกำกับทิศทางของแผนสุขภาวะชุมชน พื้นที่ภาคใต้
การพัฒนาอย่างยั่งยืนที่รู้รับปรับตัวต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง โดย นายสมพร ใช้บางยาง ประธานเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่
พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) 5 ฝ่าย ประกอบด้วย
1)องค์การบริหารส่วนตำบลตำบลโคกเคียน “ศูนย์จัดการเครือข่าย”
2)องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเครือข่าย 8 แห่ง
3)สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
4)เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่
5)ศูนย์สนับสนุนวิชาการเพื่อการจัดการเครือข่ายพื้นที่ภาคใต้
สนับสนุนโดย สำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก3)
ขอบคุณข้อมูลจากเพจ เรินคนใต้ Learn Kon Tai
ชมคลิปย้อนหลัง
Relate topics
- บพท. และ ม.อ.ปัตตานี จับมือ พอช. พร้อมบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนเพื่อร่วมพัฒนาตำบลแก้จนนำร่องในพื้นที่เมืองปัตตานี
- System Map และ ข้อเสนอเชิงนโยบาย 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ (เครือข่าย กขป.เขต 12)
- การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความมั่นคงทางอาหาร
- ตำบลพุมเรียง ชูผักไชยา และปลาอินทรีย์ ปั้นเมนูสุขภาพกินดี อยู่ดี ลด NCDs ที่พุมเรียง
- ต้นทุนเพื่อการพัฒนา จากทีมสนับสนุนชุมชนน่าอยู่เล็ก ๆ สู่โมเดลสุขภาวะชุมชนภาคใต้
- คสช.รับทราบผลการขับเคลื่อนนโยบายปกป้องและคุ้มครองเด็ก-เยาวชนจาก “บุหรี่ไฟฟ้า” ของ สช.-หน่วยงานภาคี
- พลังงานวิจัย “เรื่องบทบาทและการมีส่วนร่วมต่อการสร้างสันติภาพของสตรีในจังหวัดชายแดนภาคใต้”
- เครือข่ายร่วมหารือการจัดทำแนวทางขับเคลื่อนกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ในพื้นที่ ต.วิชิต ภูเก็ต
- "กขป.เขต 12 เกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ"
- "กขป.เขต 12 บุหรี่และปัจจัยเสี่ยง"